นับจากวันที่ 1 ตุลาคม 2568 เป็นต้นไป แรงงานไทยจะมี “หลักประกันใหม่” ที่ช่วยเพิ่มความมั่นคงในชีวิตการทำงานมากยิ่งขึ้น กับ “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง” ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้ตามกฎหมายใหม่ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างโดยไม่ได้รับสิทธิชอบธรรม      

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 126 กำหนดให้มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงานหรือตาย หรือในกรณีอื่นตามที่กำหนดโดยคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง 

 

กองทุนนี้มาจากไหน? 

แหล่งเงินทุนหลักของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจะมาจากการ "เงินสมทบ" ที่นายจ้างจะต้องนำส่งเข้ากองทุนตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ซึ่งถือเป็นการร่วมกันสร้างหลักประกันและความมั่นคงให้กับลูกจ้างทุกคนในระบบ 

 

หน้าที่ของนายจ้าง 

 

  • นายจ้างที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องให้ลูกจ้างเข้าเป็นสมาชิกกองทุนฯ 
  • ยื่นแบบรายการแสดงรายชื่อลูกจ้างและรายละเอียดอื่นๆ (สกล.3/สกล.3/1) 
  • ยื่นแบบเปลี่ยนแปลง รายการแสดงรายชื่อลูกจ้างและรายละเอียดอื่นๆ (สกล.3/2) 

(กรณีหากนายจ้างยื่นแบบรายการตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมแล้ว  ให้ถือว่านายจ้างได้ยื่นแบบฯข้างต้นแล้ว) 

  • หักค่าจ้างลูกจ้าง 0.25%  เพื่อนำส่งเป็นเงินสะสม  
  • จ่ายเงินสมทบ 0.25% ของค่าจ้างของลูกจ้าง 

  

หน้าที่ของลูกจ้าง 

 

  • กรณีทำงานกับนายจ้างที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 10คน ขึ้นไป ต้องเข้าเป็นสมาชิกกองทุน ฯ 
  • จ่ายเงินสมทบ 0.25% ของค่าจ้างนายจ้างเป็นผู้หักค่าจ้างและนำส่งเข้ากองทุนฯ 
  • หน้าที่อื่น  

          - แจ้งข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนแปลงให้นายจ้างทราบ   

          - กำหนดบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินฯ (สกล.5) 

  

ข้อยกเว้นที่ไม่อยู่ในบังคับให้ลูกจ้างต้องเข้าเป็นสมาชิกกองทุน ฯ 

 

  • กิจการที่มีลูกจ้างไม่ถึง 10 คน 
  • กิจการที่นายจ้างจัดให้ลูกจ้างเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 
  • กิจการที่นายจ้างจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์อื่น ๆ กรณีลูกจ้างลาออกหรือตาย 
  • กิจการที่ไม่เข้าข่ายบังคับ อาทิ งานเกษตร งานประมง งานรับใช้ในบ้านที่มิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย กิจการที่ไม่แสวงหากำไร กิจการโรงเรียนเอกชน เฉพาะผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา 

 

การจ่ายเงินสงเคราะห์ลูกจ้าง (เงินสะสม เงินสมทบ และดอกผล) 

 

  • กรณีลูกจ้างออกจากงาน 

          - นายจ้างเลิกจ้าง (ไม่ว่าจะกระทำผิดวินัยหรือไม่) 

          - เกษียณอายุ 

          - ลาออก 

          - ตกลงเลิกสัญญาจ้าง 

          - สิ้นสุดสัญญาจ้าง 

 

  • กรณีลูกจ้างเสียชีวิต

          - ตกแก่บุคคลซึ่งลูกจ้างระบุ ในหนังสือกำหนดบุคคลผู้จะพึงได้รับเงินฯ (สกล.5) 

          - ไม่ได้กำหนดไว้ หรือบุคคลที่กำหนดตายก่อน จะตกแก้บุตร ภรรยา คู่สมรส บิดา มารดา ที่มีชีวิตอยู่ คนละส่วนเท่าๆกัน 

          - หากไม่มีบุตรดังกล่าว จะตกแก่กองทุนฯ 

 

  • ประโยชน์ของกองทุน 

         - ยกระดับมาตรฐานคุ้มครองลูกจ้าง 

         - ส่งเสริมการออมเงินให้กับลูกจ้าง 

         - เสริมสนร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน 

         - บรรเทาความเดือนร้อนให้กับลูกจ้างและเป็นการเพิ่มหลักประกันทางสังคม 

 

  • ประโยชน์ต่อนายจ้าง 

         - แสดงถึงภาพลักษณ์ที่ดีของนายจ้าง 

         - สร้างความสัมพันธ์อันดีภายในองค์กร 

         - สร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างทำงานกับนายจ้างในระยะยาว 

 

กองทุนเงินสงเคราะห์ลูกจ้าง ถือเป็นมาตรการสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินให้แก่ลูกจ้างในไทย ทั้งนายจ้างและลูกจ้างจึงควรเตรียมความพร้อมเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกฝ่าย 

 

 

 

 

โพสต์โดย
โพสต์โดย
HR Support Specialist
“พี่อร” เป็นที่ปรึกษาด้าน HR พี่อรคอยดูแล ประสานงาน และให้การสนับสนุนทีม Support อีกทั้งร่วมพัฒนาระบบ EzyHR ให้ตอบสนองความต้องการลูกค้าและการทำงานที่สอดคล้องกับการใช้งานระบบมากยิ่งขึ้น พี่อรเป็นคนง่ายๆ สายมู หลงรักการท่องเที่ยวและตามรีวิวอาหาร