Japan-working-policy-for-aging.jpg

 

 

 โดยทั่วไป นายจ้างในภาคเอกชนในประเทศไทยก็ไม่มีการกำหนดอายุเกษียณแน่นอนสำหรับลูกจ้าง (ยกเว้นบางบริษัท) โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดย่อมและขนาดย่อยส่วนใหญ่ไม่มีการทำสัญญาจ้างและไม่มีกำหนดเวลาเกษียณเพื่อให้ลูกจ้างทำงานต่อไปเรื่อยๆ ถ้าใครทำไม่ไหวก็ลาออกไปเอง (เพื่อเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย) ส่วนใหญ่จะเกษียณราวๆ 45-55 ปี ขึ้นอยู่กับอาชีพและสภาพงานที่ทำ (เช่น งานที่ต้องใช้สายตา หรือทำงานในสภาพที่มีความร้อนสูงหรือสารเคมี เหล่านี้มักจะเลิกทำงานไปโดยไม่ได้ค่าชดเชย) ขณะที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่จะมีสัญญาจ้างและส่วนใหญ่จ้างกันจนถึงอายุ 55 ปี (ตามอายุในการเกิดสิทธิประกันสังคมหลังจากส่งเงินสมทบประกันสังคมครบ 180 เดือน)

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว การกำหนดหรือขยายอายุเกษียณเป็นเรื่องใหญ่เพราะเป็นการผูกโยงกับอายุที่จะได้รับบำนาญตามระบบประกันสังคม ทั้งนี้ เพราะสาเหตุหลักคือการที่ประเทศมีสัดส่วนของประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น ทำให้มีผู้สูงอายุที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพมากขึ้นทุกที ซึ่งนอกจากจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นแล้วแต่ละคนยังมีชีวิตอยู่ (รับบำนาญและใช้เงิน) นานกว่าแต่ก่อน ทำให้กองทุนประกันสังคมจะไม่มีเงินพอจ่ายหรือที่เรียกว่าขาดเสถียรภาพ ดังนั้น ทางออกคือการเลื่อนอายุที่มีสิทธิรับบำนาญชราภาพหรืออายุเกษียณออกไป

 

       นอกจากนั้นแล้ว สาเหตุประการสำคัญที่ต้องมาพูดถึงอายุเกษียณคือสวัสดิการของแรงงานที่หยุดทำงานโดยไม่มีอายุเกษียณที่แน่นอนโดยเฉพาะกรณีที่ถูกเลิกจ้างและไม่ได้รับเงินชดเชยทั้งๆ ที่ตามกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 นายจ้างจะต้องจ่ายเงินชดเชยตามที่กฎหมายกำหนด

 

 ฆ้อนศาล.jpg

       

รัฐบาลที่ขจัดความคลุมเครือในเรื่องการเกษียณหรือเลิกจ้างและเพื่อคุ้มครองแรงงานลูกจ้างให้รัดกุมขึ้นโดยออกพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับที่ 6 พ.ศ.2560 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2560 โดยมาตรา 6 ให้เพิ่มประเด็นต่อไปนี้เป็นมาตรา 118/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541  คือ

ก. การเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันหรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง
ข. ในกรณีที่มิได้มีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้ หรือมีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่าหกสิบปี ให้ลูกจ้างที่มีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปมีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้โดยให้แสดงเจตนาต่อนายจ้างและให้มีผลเมื่อครบสามสิบวันนับแต่วันแสดงเจตนา และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้น

 

ทำอย่างไร เมื่อลูกจ้าง“เกษียณอายุ”

    ทำความเข้าใจกันก่อน ว่า “การเกษียณอายุถือเป็นหนึ่งในการเลิกจ้างอย่างหนึ่ง” ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 118/1 บัญญัติเกี่ยวกับการเกษียณอายุการทำงานและการจ่ายค่าชดเชย ดังนี้

     1.การเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันหรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้ ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง

     2.กรณีที่มิได้มีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุเอาไว้ หรือมีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่าหกสิบปี ให้ลูกจ้างที่มีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปมีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้ โดยให้แสดงเจตนาต่อนายจ้างและให้มีผลเมื่อครบสามสิบวันนับแต่วันแสดงเจตนา และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้นตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง

 

สรุปได้ว่า

    - กรณีที่นายจ้างกำหนดการเกษียณอายุ "ก่อนครบ 60 ปีบริบูรณ์" ให้ถือว่าการเกษียณอายุไปเป็นตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือสัญญาจ้าง หรือข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

    - กรณีกำหนดการเกษียณอายุ "เกินกว่า 60 ปีบริบูรณ์ หรือไม่ได้มีการกำหนด" ลูกจ้างมีสิทธิขอเกษียณอายุได้เมื่อมีอายุครบ 60 ปีขึ้นไป และให้มีผลเมื่อครบ 30 วันหลังการแสดงเจตนา และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง ด้วย

 

ในเรื่องค่าชดเชยที่ลูกจ้างจะได้รับ หลังจากที่แสดงเจตนาเกษียณแล้ว ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.118วรรคแรก ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยดังนี้  

     1.ลูกจ้างที่ทำงานมาครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปีได้ค่าชดเชย 30 วัน หรือ 1 เดือน

     2.ลูกจ้างหากทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ  3 ปี ได้ค่าชดเชย 90 วัน หรือ 3 เดือน

     3.ลูกจ้างทำงานครบ  3 ปี แต่ไม่ครบ  6 ปีจะได้รับเงินชดเชย 180 วัน 6 เดือน

     4.ทำงานครบ  6 ปี  แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับเงินชดเชย 240 วัน หรือ 8 เดือน

     5.ลูกจ้างทำงานครบ  10 ปี  แต่ไม่ครบ  20 ปี ได้เงินชดเชย 300 วัน หรือ 10 เดือน

     6.ลูกจ้างทำงานครบ  20 ปี  ขึ้นไปได้รับเงินชดเชย 400 วัน หรือ 13.33 เดือน

 

 

ที่มา : https://www.dst.co.th

ที่มา : https://tdri.or.th

 

โพสต์โดย
โพสต์โดย
Sales Executive
“พี่นดา” Sales ผู้มีใจรักในงานขาย ใช้ชีวิตอยู่กับงานขายมาตลอด การได้พบเจอผู้คน ได้พูดคุยกับลูกค้า ได้ต่อรองต่อสู้เพื่อชัยชนะคือความสนุกในการทำงาน นอกเวลางานมีแต่เรื่องกินเรื่องเที่ยว และความสวยความงามส่วนตัวเท่านั้น